ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ นำทีมนักวิจัยลงพื้นที่ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มอาชีพจักสานต้นคล้าบ้านโนนสะอาด อุดรธานี ดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สร้างความยั่งยืนแก่ชุมชน

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.รจนา จันทราสา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยทีมนักวิจัยลงพื้นที่ ณ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มอาชีพจักสานต้นคล้าบ้านโนนสะอาด ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี เพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเน้นการส่งเสริมการเพิ่มทักษะอาชีพด้วยงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้แก่สมาชิกกลุ่มฯ และชุมชน และสร้างรายได้เสริมให้กับครัวเรือนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา ผ่านศูนย์เรียนรู้ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาได้เข้าไปร่วมมือกลุ่มอาชีพและชุมชน เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการรวบรวมองค์ความรู้ที่บูรณาการร่วมกันระหว่างการวิจัย การบริการวิชาการ การเรียนการสอน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ดียิ่งขึ้น สำหรับศูนย์เรียนรู้กลุ่มอาชีพจักสานต้นคล้าบ้านโนนสะอาด มีความโดดเด่นในสินค้าหัตถกรรมงานจักสานจากต้นคล้า ภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของชุมชน มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและมีผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เช่น ตะกร้า กระเป๋า กระติ๊บข้าว เครื่องใช้ในครัวเรือน ดั้งนั้น ผู้ที่เข้ามาที่ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ จะได้รับองค์ความรู้ครบถ้วนเริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกต้นคล้า การนำวัสดุจากต้นคล้ามาใช้ในงานจักสาน การแปรรูปต้นคล้าเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ และการผลิตกระดาษจากต้นคล้า สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง ทั้งนี้ในการดำเนินงานดังกล่าวเป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากงานวิจัย โดยผสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด และได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจน เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 9 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืนและส่งเสริมนวัตกรรม เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และเป้าหมายที่ 17 การเสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

The Director of the Research Institute, along with a team of researchers, visited the Knowledge Center of the Bamboo Handicraft Group at Ban Non Sa-At, Udon Thani. The visit was part of efforts to develop the local area, enhance the economy, and promote sustainability for the community.

On January 17, 2024, Associate Professor Dr. Rajana Chantarasa, Director of the Research and Development Institute, along with a team of researchers, visited the Knowledge Center of the Bamboo Handicraft Group at Ban Non Sa-At, Thung Fon Subdistrict, Thung Fon District, Udon Thani. The visit was part of efforts to listen to the community’s opinions on ways to improve quality of life, focusing on promoting skills development through research, technology, and innovation for group members and the local community. This initiative aims to enhance household income and strengthen the community in a sustainable way, in line with the Royal Initiatives. The Research and Development Institute has collaborated with the local group and community, establishing the center as a hub for integrating knowledge across research, academic services, teaching, and local wisdom. This collaboration has resulted in useful knowledge that benefits the local community and has raised the standard of local product quality.

The Knowledge Center of the Bamboo Handicraft Group at Ban Non Sa-At is renowned for its bamboo weaving handicrafts, a local wisdom passed down through generations, making it a signature product of the community. The center produces a wide range of products, including baskets, bags, steamed rice containers, and household items. Visitors to the center gain comprehensive knowledge, starting from bamboo cultivation, utilizing bamboo materials in weaving, processing bamboo to create products, and making paper from bamboo. This knowledge can be applied to further develop their own products.

The project integrates research knowledge, in collaboration with various university departments, to ensure that the community can fully benefit from these efforts, leading to sustainable development. This initiative aligns with the United Nations Sustainable Development Goals (SDGs), particularly Goal 1 (No Poverty), Goal 8 (Decent Work and Economic Growth), Goal 9 (Industry, Innovation, and Infrastructure), Goal 15 (Life on Land), and Goal 17 (Partnerships for the Goals).

ที่มา : https://www.facebook.com/ird.ssru/posts/pfbid0323P18tPVRvayo5zqEpZGwe6ii6b7pkMDRd19YFL9S1AVxuxygjo1qLRnEissifLfl

Source : https://www.facebook.com/ird.ssru/posts/pfbid0323P18tPVRvayo5zqEpZGwe6ii6b7pkMDRd19YFL9S1AVxuxygjo1qLRnEissifLfl

Related posts: