Safety and Justice Project UN WOMEN urges private sectors to implement anti-violence policies

Safety and Justice Project UN WOMEN urges private sectors to implement anti-violence policies

นโยบายและการบริหารจัดการ

โครงการปลอดภัยและยุติธรรม UN WOMEN กระตุ้นเอกชนออกนโยบายต่อต้านความรุนแรง

          เผยสถิติ 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลกถูกกระทำรุนแรงหญิงไทย 44% ถูกกระทำจากคนในครอบครัวส่วนแรงงานหญิงข้ามชาติถูกทอดทิ้งในสถานการณ์โควิด-19 โครงการปลอดภัยและยุติธรรม (Safe and Fair) UN WOMEN-ILO กระตุ้นภาคเอกชนตื่นตัวออกนโยบายต่อต้านความรุนแรงและมาตรฐานปฏิบัติต่อสตรีในที่ทำงานตามอนุสัญญา CEDAW และ ILO 190 รวมถึงเข้าร่วมประกวด WEP Awards เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้จัดงานสัมมนา “The Era of Equality?” ถึงยุคแห่งความเท่าเทียม? เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพของผู้หญิง ความเสมอภาคและความเท่าเทียม โดยได้วิทยากรรับเชิญจากโครงการปลอดภัยและยุติธรรม นำโดย UN WOMEN ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและสหประชาชาติ ผ่านการทำงานของ UN Women, ILO และ UNODC มาร่วมพูดคุยภายในงาน กรวิไล เทพพันธ์กุลงาม นักวิเคราะห์โครงการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง โครงการปลอดภัยและยุติธรรม (Safe and Fair) องค์กรเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ ( UN WOMEN) กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงทั่วโลกร้ายแรงกว่าที่คิดกันมาก 1 ใน 3 ผู้หญิงทั่วโลกเคยประสบความรุนแรงในชีวิต สำหรับประเทศไทย 44% ถูกกระทำความรุนแรงจากคนในครอบครัวหรือจากคนที่ตนรู้จัก โดยกรณีการถูกล่วงละเมิดนั้น 87% ของผู้หญิงที่ถูกข่มขืนอาจจะไม่ได้ขอความช่วยเหลือใดๆ เลย โดยสาเหตุของความรุนแรงเกิดจากความมีอคติต่อผู้หญิง และระบบปิตาธิปไตยที่ผู้ชายเป็นผู้กุมอำนาจหลัก และสำหรับแรงงานหญิงข้ามชาติยิ่งไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือเพราะอคติต่อแรงงานข้ามชาติและสถานภาพการเข้าเมือง “ความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังผู้หญิงที่ประสบความรุนแรงมักไม่กล้าขอความช่วยเหลือแต่สำหรับแรงงานหญิงข้ามชาติยิ่งประสบความยากลำบากเพราะอคติของเจ้าหน้าที่และนายจ้างที่มีต่อแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 แรงงานข้ามชาติมักมีสถานภาพที่ด้อยกว่าบางคนอาจไม่มีสถานภาพเข้าเมืองที่ถูกต้องแม้ประเทศไทยจะไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญา ILO 190 แต่ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบซึ่ง (CEDAW) จึงต้องยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าด้วยเหตุที่เป็นแรงงานข้ามชาติหรือมีสถานภาพใดก็ตาม” “ในส่วนของเอกชนอาจจะเริ่มต้นจากการอบรมนักเรียนนักศึกษาอบรมพนักงานในบริษัทฯให้ตระหนักถึงเรื่องการใช้ความรุนแรงขณะที่ภาคเอกชนควรมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายการยุติความรุนแรงในที่งานและออกระเบียบปฏิบัติที่มีความเท่าเทียมมีกลไกรับเรื่องร้องทุกข์และช่วยเหลือผู้เสียหายจากความรุนแรงโครงการ Safe and Fair ได้ฝึกอบรมเยาวชนและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2563 ให้มีความรู้ (knowledge) ความปรารถนา (desire) และความสามารถ (capacity) ที่จะยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงรวมถึงแรงงานหญิงข้ามชาติอันจะนำไปสู่โลกของการพัฒนาหลังจาก COVID-19 และการไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลังตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ” กรวิไล กล่าว มณฑิรา นาควิเชียร เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านการสื่อสารองค์กร และพัฒนาสัมพันธ์ UN Womenสำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า ความรุนแรงต่อเพศหญิงเกิดจากรากเหง้าของความไม่เท่าเทียม แต่สถานการณ์ปัจจุบันยังมีส่วนส่งเสริมความรุนแรงให้มากขึ้น ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาวะสงคราม และความขัดแย้งต่างๆ ขณะที่สื่อมวลชนเองก็มีบทบาทส่งเสริมให้เกิดการเหยียดเพศ เหมารวมด้วยการฉายภาพซ้ำ ตอกย้ำอคติทางเพศ เช่น ละครที่ยกผู้ชายเป็นผู้กุมอำนาจ มีผู้หญิงเป็นบริวาร เช่น ผู้หญิงเป็นคนใช้ ทำงานในครัว หรือดูแลคนแก่ ผู้ป่วย หรือเป็นเพียงเครื่องสนองอารมณ์ทางเพศ อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนในปัจจุบันก็ได้ตระหนักถึงเรื่องความรุนแรงทางเพศมากขึ้น เช่น กรณีการนำผู้เสียหายมาออกสื่อ ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อเหตุผลทางการเมือง โดยสื่อมวลชนเริ่มตระหนักเรื่องสิทธิของผู้เสียหาย และมีแนวโน้มเสนอเนื้อหาข่าวโดยปิดลับข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายมากขึ้น มุ่งเน้นการเสนอข่าวผู้กระทำผิด หรือติดตามความคืบหน้าของคดีในกระบวนการยุติธรรมมากกว่ามุ่งเสนอข้อมูลผู้เสียหาย ดังเช่น ปรากฏการณ์ #MetooThailand ล่าสุด ที่สื่อและสาธารณชนร่วมกันประณามการกระทำ และตรวจสอบจริยธรรมผู้กระทำผิดที่อาจมีอิทธิพล โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ยังมีช่องว่างให้มีกระบวนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการรายงานข่าว และนำเสนอข่าวในกองบรรณาธิการที่มีความอ่อนไหวทางเพศ (gender lens) ในประเทศไทย “ปัจจุบัน UN WOMEN กำลังผลักดันแนวทางการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศผ่านรางวัลWomen’s Empowerment Principles Awards (WEPs Awards) ซึ่งมีบริษัทไทยหลายแห่งที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดการคัดเลือกรางวัลระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกนี้ จึงอยากเชิญชวนให้ธุรกิจไทยเข้าร่วมประกวดหรือร่วมประกาศสัตยาบรรณในการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศเพื่อให้ผู้หญิงมีพื้นที่ในสังคมเพิ่มมากขึ้น” มณฑิรา กล่าวเสริมในประเด็นการทำงานผลักดันนโยบายความเสมอภาคทางเพศในกลุ่มภาคีภาคเอกชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุดาสุวรรณาภิรมย์ ประธานหลักสูตรฯ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กล่าวว่า งานสัมมนา “The Era of Equality” ถึงยุคแห่งความเท่าเทียม? เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรฯ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักคึกษาได้ฝึกปฏิบัติและได้ความรู้จากวิทยากร ซึ่ง “ความเท่าเทียม” เป็นเรื่องสำคัญที่สังคมไทยต้องตระหนักรู้ เข้าใจปัญหาและร่วมกันหาทางแก้ไข เพื่อให้ผู้หญิงในสังคมไทยได้รับความเสมอภาคที่เท่าเทียมกับผู้ชาย มีความปลอดภัย และได้รับโอกาสต่างๆ ที่เท่าเทียมกัน จึงหวังว่างานสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้สังคมไทย เกิดความตระหนักรู้ และให้ความสำคัญกับผู้หญิงมากขึ้น

Safety and Justice Project UN WOMEN urges private sectors to implement anti-violence policies

Statistics reveal that 1 in 3 women worldwide have been violently abused by Thai women, 44% were committed by family members while migrant workers were abandoned in the Covid-19 situation. Safe and Fair Program UN WOMEN-ILO urged the private sector to raise awareness of anti-violence policies and standards for the treatment of women in the workplace under CEDAW and ILO 190 Convention, as well as to participate in the WEP Awards to promote gender equality. Doctor of Philosophy program students Development Management Suan Sunandha Rajabhat University organized a seminar “The Era of Equality?” To the age of equality? To raise awareness of women’s rights and liberties equality and equality with a guest speaker from the Safety and Justice project led by UN WOMEN, a collaboration between the European Union and the United Nations. Through the work of UN Women, ILO and UNODC, join the discussion at the event Kornwilai Theppankulngam Project Analyst for Ending Violence Against Women Safe and Fair Project, an organization for the promotion of gender equality. The UN Women’s Empowerment and Empowerment (UN WOMEN) said the situation of violence against women around the world is more serious than thought, 1 in 3 women worldwide have experienced violence in their lives. In Thailand, 44% have been violently committed by family members or their acquaintances Of the harassment cases, 87% of women who were raped may not have sought help at all, with the cause of the violence being biased against women. and a patriarchal system where men dominate And for women migrant workers, even more are unable to access aid because of bias against migrant workers and their immigration status. “Violence against women is a serious issue that all parties must work together to resolve. Violent women are often reluctant to seek help, but migrant women are more difficult because of the prejudices of officials and employers towards workers. internationally, especially in the situation of COVID-19 Migrants are often of inferior status, some may not have valid immigration status. Although Thailand is not a party to ILO 190, Thailand is a party to the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women, which (CEDAW) must end violence against all women without discrimination on the grounds of being a migrant worker or of any status.” Students train employees in the company to be aware of violence while the private sector should be involved in pushing for policies to end violence at work and issue rules of practice with equal grievance mechanisms. and helping victims of violence, the Safe and Fair project has trained youth and students of Thammasat University in 2020 to have knowledge, desire and competence(capacity) to end violence against women, including women migrant workers, leading to a world of development after COVID-19 and not leaving anyone behind in accordance with the Sustainable Development Framework (SDGs),” said Kornwilai. corporate communication and UN Women Relations, the Asia-Pacific office said that violence against women is rooted in inequality. But the current situation still contributes to more violence. Both the spread of COVID-19 wars and conflicts Meanwhile, the media has played a role in promoting sexism. stereotyped by reprojection reinforcing gender bias For example, a drama that puts men in power. There are women as servants, such as women as servants, working in the kitchen, or caring for the elderly, sick, or just a sexual arousal. However, today’s media has become more aware of sexual violence, such as the case of bringing victims to the media. Make public relations for political reasons The media began to realize the rights of the victims And there is a tendency to present news content by hiding the personal information of the victim more. Focus on reporting offenders Or follow the progress of the case in the judicial process rather than focusing on providing information on the victims, such as the latest #MetooThailand phenomenon where the media and the public condemn the action. and examine the ethics of offenders who may have influence. especially those who are known as And there is a tendency to present news content by hiding the personal information of the victim more. Focus on reporting offenders Or follow the progress of the case in the judicial process rather than focusing on providing information on the victims, such as the latest #MetooThailand phenomenon where the media and the public condemn the action. and examine the ethics of offenders who may have influence. especially those who are known as Therefore, I would like to invite Thai businesses to participate in the contest or to announce the Code of Conduct to promote gender equality in order for women to have more space in society,” added Montira on the issue of working towards the equality policy. Gender in the private sector Assistant Professor Dr. Suda Suwannapirom Chairman of the course Doctor of Philosophy Development Management Suan Sunandha Rajabhat University said that the seminar “The Era of Equality” reaches the age of Therefore, I would like to invite Thai businesses to participate in the contest or to announce the Code of Conduct to promote gender equality in order for women to have more space in society,” added Montira on the issue of working towards the equality policy. in the private sector Assistant Professor Dr. Suda Suwannapirom Chairman of the course Doctor of Philosophy Development Management Suan Sunandha Rajabhat University said that the seminar “The Era of Equality” 

 

   

ที่มา : https://www.thaipost.net/public-relations-news/147988/

Source : https://www.thaipost.net/public-relations-news/147988/



ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *